Category Archives: ตำบลกระดังงา

ตำบลกระดังงา

ตำบลกระดังงา is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by focus keyword name in category.

ตำบลกระดังงา  เป็นตำบลหนึ่งใน 13 ตำบลของอำเภอบางคนที  จังหวัดสมุทรสงคราม

จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย

ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย[3]

ประวัติ[แก้]

จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี ชื่อบางช้างอาจตั้งตามพระนามในเจ้าพลาย (ในปี พ.ศ. 2173 เจ้าพลายและเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งและพระราชโอรสองค์ที่สองตามลำดับในสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) ซึ่งเป็นพระอนุชาพระองค์เดียวที่เราทราบในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำ) ซึ่งไม่มีพระราชโอรส ได้หนีราชภัยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงบางช้าง) แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก (มีคำกล่าวที่ว่า “สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง”) ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า “เมืองแม่กลอง” สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนดซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ[ต้องการอ้างอิง]

จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม “แม่กลอง” นอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัยโดยที่เจ้าพลายและเจ้าแสน แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายถอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหารในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์[ต้องการอ้างอิง]

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง[แก้]

หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม[4] ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเหตุที่ว่าชื่อวัดเป็นชื่อสถานที่ในพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองใกล้เคียงนั้น ก็เพราะว่าในสมัย พ.ศ. 2307 พม่าได้เข้าตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะริด เมืองเพชรบุรี โดยเข้ามาทางด่านสิงขร ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระยาพิพัฒน์โกสากับพระยาตากสินเข้ามาตั้งรับข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี การสู้รบครั้งนั้นชาวบ้านแหลมในเมืองเพชรบุรี ต้องประสบชะตากรรมสงคราม อพยพไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือวัดจำปาซึ่งไม่ไกลจากทะเล อันเป็นพื้นที่สามารถประกอบอาชีพ (ประมง) จึงได้ตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ แล้วไปมาหาสู่กันระหว่างแม่กลองกับอำเภอบ้านแหลม

มาวันหนึ่งขณะออกเรือหาปลา ชาวประมงบ้านแหลม ได้พระพุทธรูป 2 องค์ ขณะกำลังจะกลับฝั่ง ปรากฏว่ามีพายุลมแรง ชาวประมงจึงตัดสินใจนำเรือเข้าฝั่งมาทางแม่กลอง แล้วเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองเพื่อหลบพายุ แต่เรือก็ยังโคลงเคลงอยู่จนกระทั่งมาถึงวัดศรีจำปา พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรได้ตกลงน้ำ ทำให้ชาวประมงบ้านแหลมกลุ่มนั้นต้องลงไปในแม่น้ำงมหา แต่ก็ไม่พบ จนชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองได้งมหาเจอ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ความทราบถึงพี่น้องชาวบ้านแหลมที่อยู่ที่เพชรบุรีเข้า ก็ยกขบวนมาทวงพระคืน พี่น้องบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองขอพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา โดยยินยอมที่จะเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อวัดศรีจำปาเป็น วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นเกียรติไว้แก่ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีที่เป็นผู้ได้พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านแหลมเพชรบุรีจึงได้กลับไป พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ส่วนอีกองค์ (หลวงพ่อทอง) ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

พื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ทรัพยากรน้ำ[แก้]

แม่น้ำแม่กลองในจังหวัดสมุทรสงคราม

แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับน้ำส่วนใหญ่จากแม่น้ำแม่กลอง

  1. คลองสุนัขหอน เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านเริ่มจากอำเภอเมืองสมุทรสาคร ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงคราม
  2. คลองดำเนินสะดวก ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ผ่านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และผ่านอำเภอบางคนฑี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล 28 องค์การบริหารส่วนตำบล

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดสมุทรสงคราม (31 ธันวาคม พ.ศ. 2555)
ลำดับ[# 1] ชื่ออำเภอ พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(ก.ม.)[6]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][7]
หมู่บ้าน
[# 3][7]
ประชากร
(คน) [8]
แผนที่
1 169.0 11 87
 76,162
แผนที่
2 77.5 12 13 101
  28,691
3 170.2 7 12 96
 49,076
  1.  เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2.  รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3.  เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

จังหวัดสมุทรสงครามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 36 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม), เทศบาลเมือง 1 แห่ง (เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม), เทศบาลตำบล 8 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง[9] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดสมุทรสงครามมีดังนี้

ผู้ว่าราชการเมือง ข้าหลวงประจำจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

ผู้ว่าราชการเมือง
  1. พระแม่กลอง (เสม วงศาโรจน์) สมัยกรุงธนบุรี
  2. พระแม่กลอง (สอน ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 1
  3. พระแม่กลอง (ตู้ ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 2
  4. พระแม่กลอง (ทองคำ ณ บางช้าง) สมัยรัชกาลที่ 2
  5. พระแม่กลอง (นุช วงศาโรจน์) สมัยรัชกาลที่ 3
  6. พระแม่กลอง (โนรี วงศาโรจน์) สมัยรัชกาลที่ 3
  7. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (กุน ณ บางช้าง) พ.ศ. 2413 – 2419
  8. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (ชม บุนนาค) พ.ศ. 2419 – 2437
  9. พระราชพงษานุรักษ์ศิริศักดิ์สมบูรณ์ มนูญอัธยาศัยอภัยพิริยพาหะ (แฉ่ บุนนาค) พ.ศ. 2438 – 2439
  10. หลวงอร่าม เรืองฤทธิ์ (ชวน บุนนาค) พ.ศ. 2439 – 2441
  11. พระยาวรวิไชย (ปลอด บุนนาค) พ.ศ. 2442 – 2443
ผู้ว่าราชการจังหวัด
  1. พระยาราชพงษานุรักษ์ (ชาย บุนนาค) พ.ศ. 2443 – 2460
  2. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2460 – 2462
  3. พระยาบริหารราชการอาณาเขต (เจิม วิเศษรัตน์) พ.ศ. 2462 – 2466
  4. พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์ (รอด สาริมาน) พ.ศ. 2466 – 2471
  5. พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค) พ.ศ. 2471 – 2474
  6. พระนิกรบดี (จอน สาลิกานนท์) พ.ศ. 2474 – 2477
  7. หลวงบุเรศบำรุงการ (เจริญ วงศ์ตลาดขวัญ) พ.ศ. 2477 – 2478
  8. พระบำรุงบุรีราช (วิง สิทธิเทศานนท์) พ.ศ. 2478 – 2479
  9. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (กิมฮ๊อก วงษ์สกุล) พ.ศ. 2479 – 2481
  10. นายอุดม บุญประกอบ พ.ศ. 2481 – 2482
  11. หลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (กังวาน วงษ์สกุล) พ.ศ. 2482 – 2484
  12. ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สุวงศ์ วัฏฏสิงห์) พ.ศ. 2484 – 2487
  13. นายจรัส ธารีสาร พ.ศ. 2487 – 2491
  14. นายเวศน์ เพชรรานนท์ พ.ศ. 2490 – 2491
  15. ขุนบริรักษ์บทวสัญช์ (ชุ่ม เธียรพงศ์) พ.ศ. 2491 – 2492
  16. นายแสวง รุจิรัตน์ พ.ศ. 2492 – 2492
  17. ขุนอารีราชการัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์) พ.ศ. 2492 – 2493
  18. นายวิฑูร จักกะพาก พ.ศ. 2493 – 2495
  19. นายเกษม สุขุม พ.ศ. 2495 – 2497
  20. นายเจริญ ภมรบุตร 10 ก.ค.2497 – 12 ก.พ.2501
  21. นายชาติ อภิศลย์ บุญยะรัตน์พันธ์ 17 ก.พ.2501 – 26 เม.ย.2502
  22. นายกาลัญ อมาตยกุล 18 มิ.ย.2502 – 24 พ.ย.2502
  23. นายชูสง่า ไชยพันธ์ 25 พ.ย.2502 – 18 ธ.ค.2504
  24. นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ 19 ธ.ค.2504 – 10 ต.ค.2510
  25. นายธวัชชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา 11 ต.ค.2510 – 30 ก.ย.2515
  26. นายชาญ กาญจนาคพันธ์ 1 ต.ค.2515 – 30 ก.ย.2519
  27. นายพิบูลย์ ธุรภาคพิบูลย์ 1 ต.ค.2519 – 30 ก.ย.2521
  28. นายเสถียร จันทรจำนง 14 ต.ค.2521 – 23 ส.ค.2522
  29. นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ 24 ส.ค.2522 – 30 ก.ย.2523
  30. นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ 1 ต.ค.2523 – 30 ก.ย.2528
  31. นายบรรโลม ภุชงคกุล 1 ต.ค.2528 – 30 ก.ย.2530
  32. นายวิธาน สุวรรณทัต 1 ต.ค.2530 – 30 ก.ย.2535
  33. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร 1 ต.ค.2535 – 30 ก.ย.2537
  34. นายประวิทย์ สีห์โสภณ 1 ต.ค.2537 – 30 ก.ย.2539
  35. นายสุรพล กาญจนะจิตรา 1 ต.ค.2539 – 19 ต.ค.2540
  36. นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ 20 ต.ค.2540 – 30 ก.ย.2543
  37. นายนาวิน ขันธหิรัญ 1 ต.ค.2543 – 30 ก.ย.2544
  38. นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร 1 ต.ค.2544 – 30 ก.ย.2546
  39. นายวรเกียรติ สมสร้อย 21 เม.ย.2546 – 30 ก.ย.2547
  40. นายวิชชา ประสานเกลียว 1 ต.ค.2547 – 30 ก.ย.2548
  41. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ 1 ต.ค.2548 – 12 พ.ย.2549
  42. นายวีระยุทธ เอี่ยมอำภา 13 พ.ย.2549 – 30 ก.ย.2550
  43. ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี 1 ต.ค.2550 – 19 ต.ค.2551
  44. นายประภาศ บุญยินดี 20 ต.ค.2551 – 27 พ.ย.2554
  45. นายธนน เวชกรกานนท์ 28 พ.ย.2554 – 30 ก.ย.2556
  46. นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ 1 ต.ค.2556 – 30 ก.ย.2557
  47. นายปัญญา งานเลิศ 3 พ.ย.2557 – 30 ก.ย.2558
  48. นางสาวจิตรา พรหมชุติมา 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2559
  49. นายคันฉัตร ตันเสถียร 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2561
  50. นางสุกานดา วรเชษฐบัญชา 1 ต.ค. 2561 – 30 ก.ย. 2562
  51. นายชรัส บุญณสะ 1 ต.ค. 2562 – ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง ส่วนอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำปลา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และมีโรงงานทั้งสิ้น 270 โรงงาน ทุนจดทะเบียนรวม 5,068,084,947 บาท จำนวนการจ้างงาน 7,099 คน สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสมุทรสงครามขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และการประมงเป็นสาขาการผลิตในภาคเกษตรที่ทำรายได้สูงสุดของจังหวัด รองลงมาก็คือ กสิกรรม และการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่าย

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การขนส่ง[แก้]

รถไฟขณะออกสถานีรถไฟแม่กลอง กำลังวิ่งผ่านตลาดร่มหุบ หรือตลาดแม่กลอง

ในจังหวัดสมุทรสงครามมีทางหลวงแผ่นดินทั้งหมด 2 สาย ได้แก่ ถนนพระรามที่ 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 สายธนบุรี–ปากท่อ โดยสามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงสมุทรสงครามโดยใช้ทางหลวงสายนี้ด้วยระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 325 สายบางแพ–สมุทรสงคราม ส่วนการขนส่งทางราง ปัจจุบันมีทางรถไฟสายแม่กลอง ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการสัญจรและขนส่งเสบียงอาหารของประชาชน

และการขนส่งทางน้ำ จังหวัดสมุทรสงครามมีแม่น้ำไหลผ่านทั้ง 3 อำเภอ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ออกสู่ปากอ่าวแม่กลอง มีคลองเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 คลอง การคมนาคมในจังหวัดจึงใช้เรือเป็นสำคัญ ซึ่งโดยมากได้แก่ เรือยนต์ เรือหางยาว เรือแจว และมีท่าเทียบเรืออีก 7 แห่ง การติดต่อกันระหว่างจังหวัดก็มีทางเรือ คือ

สาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า อำเภอเมืองสมุทรสงคราม, โรงพยาบาลอัมพวา อำเภออัมพวา, โรงพยาบาลนภาลัย อำเภอบางคนที เป็นต้น

การศึกษา[แก้]

จังหวัดสมุทรสงครามมีสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2553[10] จัดการเรียนการสอนด้านการพัฒนาท้องถิ่น และการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท นอกจากนี้ยังมี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม และอาชีวศึกษา เช่น วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

ตลาดน้ำอัมพวา

Call Now Button